วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

งานช่างปูน

ช่างปูน
Plastering
           ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่
 งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง
ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์
พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี
 ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร
แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆใบเสมา
 กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น
และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย
 
ช่างปูน 

           งานปูน จัดเป็นงานช่างเก่าแก่ จำพวกหนึ่งที่ในสยามประเทศนี้ ทั้งนี้พึงเห็นได้จากซากโบราณสถานประเภท เจติยสถาน ชนิดเครื่องก่ออิฐถือปูนทำลวดบังประกอบส่วนต่างๆ อย่างประณีตแสดงฝีมือและความสามารถช่างปูน ชั้นสูง แต่ทว่าหลักฐานความเป็นมาของช่างปูนรุ่นเก่าๆ นั้นไม่สู้มีหลักฐานสิ่งอื่นๆ แสดงให้ทราบได้ว่าเป็นช่างพวก ใดเป็นผู้สร้างทำ นอกเสียจากรูปแบบที่แสดงฝีไม้ลายมือฝากไว้เท่านั้น
           งานปูน หรืองานช่างปูนแต่สมัยก่อน มีชื่อเรียกเป็นคำเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า "สทายปูน"งานของช่างปูน อาจจำแนกลักษณะงานของช่างปูนออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ

ช่างปูนงานก่อ
           ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการก่อวัสดุชนิดต่างๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง เป็นต้น ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่ง ต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ก่อเขามอขึ้นอ่าง ไปจนกระทั่งก่อพระสถูปเจดีย์ ก่อพระพุทธปรางค์เจดีย์ หรือได้ทำการ ในด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ เครื่องหิน เครื่องอิฐก่อที่ชำรุดให้คืนดีขึ้นดั่งเดิม
 
ช่างปูนงานลวดบัว
           ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการถือปูนทำผิวเป็นลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวหลังเจียด บัวปากปลิง บัวลูกแก้ว บัวอกไก่ สำหรับประกอบทำฐานลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า ฐานเชิง บาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ ฐานเฉียง ฐานบัวจงกล ฯลฯ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแบบต่างๆ คือ เสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เสากลม เป็นต้น
           งานปูนที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างปูนดังกล่าวมีวัตถุปัจจัยสำคัญสำหรับงาน คือ ปูน ซึ่งช่างปูนได้ใช้ในงาน ก่อ ฉาบ และถือปูนเป็นสิ่งต่างๆ มาแต่โบราณ การผสมปูนนี้ ช่างปูน บางคนได้ผสมเนื้อปูนให้มีคุณภาพเหนียวและ คงทนถาวรอยู่ได้นานปี บางคนใช้กระดาษฟางบ้าง หัวบุบุก หัวกลอยบ้าง แม้หัวต้นกระดาษก็ใช้ตำผสมเข้ากับเนื้อ ปูน เพื่อช่วยเสริมความเหนียวและยึดตัวดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประสบการณ์ของช่างปูนแต่ละคน
           งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรม เดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป้นเนื้อเดียวและเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูนตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้างหรือซ่อมปูชนียสถาน หรือศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาวจะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่องซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ใน อ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้นพอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ในวันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการ โขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตาม ส่วนหรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้วยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์
           ช่างปูนที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดีช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒-๓ อย่าง คือ
           เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ
           เกรียงไม้
           ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
           ครก และสากไม้
           ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
           อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน
           ช่างปูน เป็นช่างฝีมือที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือสร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ที่ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงามและคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับและจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วย สาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบายมา
ช่างปูน จำแนกออกได้ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
1. ช่างปูนโครงสร้าง
2. ช่างก่ออิฐถือปูน
3. ช่างปูนสุขภัณฑ์
4. ช่างปูนปั้น

  การปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะหลายๆด้านผู้ปฏิบัติต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานช่าง  คือการเรียนรู้เรื่องเครื่องมือนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวช่างจะมีฝีมือดีเพียงใดก็ตามแต่เครื่องมือไม่พร้อม และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ งานที่ได้ก็คงจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในงานช่างปูนผู้ที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจรู้จักวิธีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างปูนเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วในโกาสต่อไป


ความสำคัญของเครื่องมือช่างปูน

http://www.school.net.th

งานปูน

         งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรมเดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้ สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป็นเนื้อเดียว และเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูน ตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศล ด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้าง หรือ ซ่อมปูชนียสถาน หรือ ศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาว จะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้ สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้ จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่อง ซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ในอ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้น พอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ในวันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการโขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตามส่วน หรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้ว ยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาว ได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์
งานปูนก่อสร้างพระที่นั่ง สมัยรัตนโกสินทร์ พระบรมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
รูปภาพ งานปูนก่อสร้างพระที่นั่ง สมัยรัตนโกสินทร์ พระบรมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร 
ช่างปูน ที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดี ช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒–๓ อย่าง คือ
  • เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ
  • เกรียงไม้
  • ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
  • ครก และสากไม้
  • ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
  • อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน
ช่างปูน เป็นช่างฝีมือ ที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือ สร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ ที่ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงาม และคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับ และจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วยสาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบาย


งานประดิษฐ์และงานช่าง

ความหมายของงานช่าง

    งาน หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, การพิธี หรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน
    ช่าง หมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
    งานช่าง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำโดยผู้ชำนาญในการฝีมือ โดยมีศิลปะ

ความสำคัญของงานช่าง
    งานช่างด้านต่าง ๆ เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต งานช่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัสดุให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนวิชางานช่างไปใช้ในครอบครัว
ประโยชน์ของงานช่าง     1. สามารถใช้เครื่องใช้มนบ้านอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
    2. รู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องใช้ในบ้างทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    3. สร้างลักษณะนิสัยที่ดีในเรื่องความรับผิดชอบ ความอดทน ความประหยัด และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    4. เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    5. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างชิ้นงานรูปแบบแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
    6. ฝึกใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
    7. สามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษางานอาชีพและการประกอบอาชีพต่อไป
ประเภทของงานช่าง     งานช่างในประเทศไทย ถ้าแบ่งตามหลักฐานที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยแบ่งตามลักษณะของชิ้นงานแบ่งออกเป็นช่าง 10 หมู่ดังนี้
        1. งานช่างเขียน
        2. งานช่างแกะ
        3. งานช่างสลัก
        4. งานช่างปั้น
        5. งานช่างปูน
        6. งานช่างรัก
        7. งานช่างหุ่น
        8. งานช่างบุ
        9. งานช่างกลึง
        10. งานช่างหล่อ
    งานช่างที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต หรือเรียกว่าช่างในบ้าน แบ่งออกเป็น 6 งาน ดังนี้
        1. งานไฟฟ้า
        2. งานประปา
        3. งานช่างสี
        4. งานปูน
        5. งานโลหะ
        6. งานไม้

งานช่างทุกช่างในการปฏิบัติงานให้ได้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องประกอบไปด้วยงานหลัก 4 งานดังนี้
    1. งานบำรุงรักษา
        งานบำรุงรักษา เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    2. งานซ่อมแซม
        งานซ่อมแซม เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    3. งานติดตั้ง
        งานติดตั้ง เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้สามารถใช้งานและอำนวยประโยชน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
    4. งานผลิต                                 
        งานผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบและผลิตชิ้นงาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และวิธีการทำงานช่างอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน

ความหมายของเครื่องมือ,วัสดุและอุปกรณ์
    - เครื่องมือ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน
    - วัสดุ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วสิ้นเปลืองและหมดไป เช่น สี กาว สายไฟ ยางลบ ดินสอ
    - อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วยังคงเหลือ สามารถใช้ได้อีก เช่น กรรไกร เลื่อย คีม

หลักการเลือกซื้อ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้งานในงานช่าง 

    1. ประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว
    2. ความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน เพื่อคุ้มค่าในการเลือกซื้อ
    3. ความสะดวกในการใช้งาน เมื่อเกิดการชำรุดแล้วสามารถซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ง่าย
    4. ความปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรมีตรารับรองคุณภาพ
 
ประเภทของเครื่องมือ ที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้     1. เครื่องมือประเภทตัด
    2. เครื่องมือประเภทตอก
    3. เครื่องมือประเภทเจาะ
    4. เครื่องมือประเภทวัด

ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามลักษณะของงานแต่ละประเภท ดังนี้
    1. งานไม้
    2. งานปูน
    3. งานโลหะ
    4. งานไฟฟ้า
    5. งานประปา




ความปลอดภัยในงานช่าง
              การทำงานงานช่างทุกชนิด หรือการใช้เครื่องมืองานช่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ  สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัย
ของตนเองเป็นอันดับแรกดังนี้
    1. ตรวจสอบเครื่องมือทุกชนิดก่อนและหลังใช้งานเพื่อใช้งานได้อย่างปลอดภัย 2. ใช้เครื่องมือให้ถูกประเภทกับประเภทของงาน  เช่น  ใช้สิ่วในงานไม้  สกัดในงานปูน 3. แต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของงาน 4. สถานที่ทำงานควรมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทอย่างพอเพียง 5. การแก้ไขอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องตัดกระแสไฟฟ้าออกเสียก่อน โดยยกคัทเอาท์ออก และต้องเขียนป้ายบอกกำลังซ่อมไฟฟ้า 6. ไม่พกพาเครื่องมือที่มีคมในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง  7. ไม่แตะต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อร่างกายเปียกชื้น  8. ไม่ติดตั้งเต้ารับต่ำเกินไป  อาจเป็นอันตรายเมื่อเด็กเล่นหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย 9. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม 10. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน 11. ศึกษาคู่มือการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนใช้งาน 12. ขั้วต่อต่างๆ  ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องแน่นและมั่นคงแข็งแรง 13. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้อง เช่น ใช้ฟิวส์ให้ถูกขนาดและไม่ใช้เส้นทองแดงแทนฟิวส์ 14. ไม่หยอกล้อเล่นกันในขณะทำงาน 15.  ไม่ทำงานเกินกำลังของตนเอง
    ต้องสวมหมวกนิรภัยเมื่อเข้าบริเวณที่ก่อสร้าง
    สวมหมวกนิรภัยเมื่อเข้าบริเวณก่อสร้าง
    มีสติในการทำงานแต่ละครั้ง
              ความปลอดภัยในการปฏิบัตงาน    
                                                       ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติงาน        
                            การแต่งกาย 
        
       - ติดกระดุมทุกเม็ดให้เรียบร้อย     - ไม่ควรใส่เครื่องประดับ  เช่น  สร้อยคอ  นาฬิกา  แหวน    - ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้น  หรือรองเท้าบู๊ด  เพื่อป้องกันเศษโลหะทิ่มตำ
       - ควรสวมแว่นตา  เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา  เช่น  การเจียระไนงาน  หรือแสงจากการเชื่อมโลห
      - ควรสวมหมวกในกรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเคมี    - ไม่ควรไว้ผมยาวหรือมิฉะนั้นควรสวมหมวก    - สภาพการทำงานที่มีเสียงดัง  ควรสวมที่ครอบหู                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   การแต่งกาย                                                                                                   ความประพฤติตนโดยทั่วไป
      
     - ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงานจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง  - ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในโรงงานโดยเคร่งครัด                                                                                                                                                                                                                        ขณะปฏิบัติงาน ไม่หยอกล้อกันหรือเล่นกัน                    ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด
     2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักร                                  
           
    - เมื่อจะเดินเครื่องจักร  ผู้ใช้ต้องรู้เสียก่อนว่าจะหยุดเครื่องอย่างไร
     - การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักรหรือเปลี่ยนสายพาน  เฟือง  จะต้องหยุดเครื่องและตัดสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง  - อย่าพยายามหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง   - พึงระวังส่วนประกอบของเครื่องจักรที่อาจจะเป็นอันตรายได้  เช่น  เฟือง  สายพาน  มีดกัดต่าง ๆ  จะต้องมีฝาครอบ หรือเครื่องป้องกันเอาไว้
     - ต้องตรวจดูชิ้นงานหรือใบมีดกัดต่าง ๆ จะต้องยึดแน่นและถูกต้องก่อนทำงานเสมอ    - เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้วต้องตัดสวิตช์ไฟฟ้าออกทุกครั้ง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           ให้ปลอดภัย                                                                                                                                                                                                                            เปลี่ยนสายพานเฟืองจะต้องหยุดเครื่องและใดส่วนหนึ่งสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง                                                                                                                                                                                                                        
     ก่อนใช้เครื่องจักรต้องแน่ใจว่ามีเครื่องป้องกันอันตรายอยู่ 3 ความปลอดภัยเกี่ยวกับการยกและถือของ                                  
     - การยกของหนักอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้  ควรช่วยกันหรือใช้เครื่องมือยก  และเมื่อยกของหนัก ๆ จากพื้น อย่าใช้หลังยก  ให้ใช้กล้ามที่ขายกแทน      - การยกของควรใช้กำลังกล้ามเนื้อที่ต้นขายก  โดยยืนในท่าที่จะรับน้ำหนักได้สมดุลย์  คือ  งอเข่า  หลังตรง  ก้มหน้า  จับของให้แน่นแล้วยืดขาขึ้น   - พยายามหลีกเลี่ยงการยกของมีคม
    - เมื่อยกขึ้นแล้วก่อนจะเดินจะต้องมองเห็นข้างหน้า และข้าง ๆ รอบตัว                                                                                                                                                         ขั้นตอนการยกและวางของที่ถูกวิธี
    ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี  และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่  ค้อน  ไขควง  คีม  ตะไบ  เลื่อย  อุปกรณ์ร่างแบบต่าง ๆ เช่น  เหล็กขีด  วงเวียน  ฯลฯ  เครื่องจักรกลจัดเป็นเครื่องทุ่นแรง  สามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ  ประหยัดเวลา  แรงงานและทำงานได้มากมาย หลายอย่างในขณะเดียวกันถ้าไม่รู้จักใช้  อันตรายจากเครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์  ของเครื่องจักรนั่นเอง   และในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  สิ่งที่ ควรพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงานควรปฏิบัติดังเรื่องต่อไปนี้
         - การถือเครื่องมือที่มีคมควรให้ปลายชี้ลงด้านล่าง  หรือหาของหุ้มปิดเสีย  เช่น  วงเวียน  เหล็กขีด  อย่าเก็บหรือพกไว้ใน กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง    
     - ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด  เช่น  ค้อนที่บิ่นหรือแตกเพราะจำทำให้เกิดความผิดพลาดขณะทุบหรือตีชิ้นงานได้  
     - การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย  เพื่อป้องกันไม่ให้หล่นลงมาโดนคนที่อยู่ข้างล่างได้
    - การเดินไป
    -มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ   
    - ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
    - เครื่องแบบที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  คือ  เสื้อและกางเกงที่เป็นชิ้นเดียวกัน  ซึ่งอยู่ใน สภาพที่เรียบร้อย  เสื้อผ้าที่ฉีกขาดไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้เข้าไปติดกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนได้